วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทไอบีเอ็มได้นำไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่าย
        ไมโครคอมพิวเตอร์ในขณะนั้นใช้ซีพียู 8088 แต่เพียงไม่กี่ปีก็พัฒนามาเป็น 80286 และในยุคปัจจุบันก็ได้พัฒนามาเป็น Pentium ซึ่งเป็นรุ่นที่เรากำลังใช้อยู่นี้ ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์รุ่นนี้มีความเร็วในการคำนวณมากกว่าเดิม ในเรื่องของความจุของฮาร์ดดิสก์เช่นเดียวกัน ฮาร์ดดิสก์รุ่นแรกที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีความจุเพียง 10 เมกะไบต์ แต่ปัจจุบันความจุของเครื่อง Pentium จะมีประมาณ 40 จิกะไบต์ จากแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมานี้ พอจะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในเชิงประสิทธิภาพ และปริมาณความจุอย่างต่อเนื่องทุกปี ขีดความสามารถเหล่านี้ทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ตอบสนองความต้องการผู้ใช้ได้ดีขึ้น
คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง
        พัฒนาการคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมาแล้วทำให้การผลิตชิพที่เป็นซีพียูมีจำนวนทรานซิสเตอร์อยู่ในชิพได้มากหลายล้านตัว ดังเช่น Pentium มีจำนวนทรานซิสเตอร์ในชิพเดียวกันถึงกว่า 4 ล้านตัว ขนาดของทารนซิสเตอร์ภานในชิพมีขนาดเล็กลงเหลือเพียง 0.3 ไมโครเมตร เพื่อให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จึงมีผู้ออกแบบให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมีซีพียูหลายตัว ซีพียูแต่ละตัวช่วยกันทำงาน เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่มีหลายซีพียูว่า เครืคอมพิวเตอร์แบบมัลติโพรเซสเซอร์ (multiprocesser )
เทคโนโลยีแบบสื่อผสม
        เทคโนโลยีแบบสื่อผสม (multimedia) หมายถึงการใช้สื่อหลายแบบผสมกัน ซึ่งมีทั้งที่เป็นข้อความ ตัวหนังสือ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงพูด เสียงดนตรี และวีดิทัศน์ การใช้สื่อหลายชนิดกำลังเป็นที่นิยมกันมาก คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันมีขีดความสามารถในการใช้สื่อหลายชนิด แต่เดิมการแสดงผลบนจอแสดงเฉพาะตัวอักำารข้อความ ต่อมาก็แสดงผลด้วยภาพกราฟิกไดดี สามารถทำภาพเคลื่อนไหวได้ ครั้นขีดความสามารถของซีพียูสามารถประมวลผลได้เร็วขึ้น ก็มีการเพิ่มเติมการใช้งานให้มีการประมวลผลด้วยเสียงได้ คอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์รับเข้าคือไมโครโฟนเป็นตัวรับข้อมูลเสียง และอุปกรณ์ส่งออกคือลำโพงเพื่อแสดงเสียง คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานกับสื่อผสมจึงต้องการซีพียูที่ทำงานได้เร็ว สื่อประสมจึงเหมาะกับซีพียูรุ่นใหม่ๆ และต่องการซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนามาให้ใช้กับระบบนี้เท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์
        ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดการแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมากแข่งขันกันคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านนี้เติบโตรุดหน้าจนเกินกว่าที่คนทั่วๆไปจะติดตามได้ทัน ดังนั้นเมื่อนักเรียนมีโอกาสควรศึกษาหาความรู้ และศึกษาถึงความก้าวหน้าในวิทยาการเห่านี้เพื่อจะได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงในเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ คือ
1 ระบบควบคุมอัตโนมัติ คือชิ้นส่วนที่มีไมโครโพรเซสเซอร์เป็นส่วนประกอบ
2 ระบบบัตรอิเล็กทรอนิกส์ คือระบบบัตรATM ที่ใช้กับเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ
3 อุปกรณ์บอกชี้ตำแหน่งบนพื้นโลก คือเครื่องบอกพิกัดเส้นรุ้ง บอกเส้นแวงบนพื้นโลกได้อย่างละเอียดตามตำแหน่งที่อยู่
4 อุปกรณ์พิเศษสำหรับรับข้อมูลและแสดงผล คืออุปกรณ์อ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง อุปกรณ์อ่านข้อมูลด้วยแสง เป็นต้น
ปัญญาการประดิษฐ์
        ปัญญาการประดิษฐ์ มีความหมายถึงการสร้างเครื่องจักให้สามารถทำงาน ได้เหมือนคนที่ใช้ปัญญา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการประดิษฐ์ปัญญาให้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถจำลองการทำงานต่างๆ เลียนแบบพฤติกรรมของตน โดยเน้นแนวคิดตามแบบสมองมนุษย์ที่มีการวางแผนการเรียนรู้ การให้เหตุผล การตักสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนการเลือกแนวทางดำเนินการในลักษณะคล้ายมนุษย์ ปัญญาการประดิษฐ์จึงเป็นเรื่องที่นักวิจัยได้พยายามดำเนินการและสร้างรากฐานไว้สำหรับอนาคต มีการคิดค้นหลักการ ทฤษฎี และวิธีการต่างๆ เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานอย่างมีเหตุผล มีการพัฒนาโครงสร้างฐานความรอบรู้ งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์เป็นงานที่น่าสนใจมาก เพราะมีบางเรื่องที่แปลกใหม่ท้าทายความสามารถของมนุษฐ์ และเป็นงานที่รอนักวิทยาศาสตร์และนักคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่จะเข้ามาช่วยกันคิด ช่วยกันพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อไป
ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ
        ลักษณะของทางด่วนสารสนเทศเหมือนกับระบบถนน ที่มีถนนสายหลัก สายรอง ซอย เชื่อมเข้าสู่บ้านเรือน โดยใช้เส้นใยนำแสงเป็นสายหลัก และใช้สื่ออื่นประกอบ เช่น คลื่นไมโครเวฟ ช่องสัญญาณสื่อสารผ่านดาวเทียม เส้นลวดทองแดง สายสัญญาณที่เชื่อมต่อเข้าบ้านเรือน ร้านค้า หรือสำนักงานจะเป็นสายสัญญาณที่รองรับข้อมูลจำนวนมากได้ หากทางด่วนสารสนเทศเป็นไปอย่างสมบูรณ์ จะมีการประยุกต์ใช้งานบนเส้นทางด่วนต่างๆมากมาย การพัฒนางานประยุกต์เป็นไปได้มากและมีรูปธรรมที่เด่นชัดดังนี้
1 ระบบโทรทัศน์
2 ระบบวิทยุ
3 การประชุมทางวีดิทัศน์
4 โทรศึกษาและโทรเวช
เทคโนโลยีโทรคมนาคมสมัยใหม่
        เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมกำลังได้รับความสนใจอย่างยิ่ง การสื่อสารถือได้ว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ขณะเดียวกันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมก็ได้ก้าวหน้าขี้นไปอีกมาก มีการให้บริการระบบสื่อสารสมัยใหม่อยู่มากมาย เทคโนโลยีเหล่านี้จึงได้รับความสนใจและคนไทยควรได้รับรู้ เช่น
การสื่อสารผ่านดาวเทียม
การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง
โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล
ระบบเครือข่ายสวิตชิง
ระบบสื่อสารเคลื่อนที่
ในอนาคตมีโครงการที่จะใช้ดาวเทียมเป็นตัวควบคุมการสื่อสารประจำเซล โดยพื้นที่ทั่วโลกจะสื่อสารถึงกันได้หมด โครงการสื่อสารแบบนี้จะใช้ดาวเทียมที่โคจรในวิถีวงโคจรที่อยู่ห่างจากพื้นโลกไม่เกิน 10,000 กิโลเมตร และใช้ดาวเทียมประมาณ 66 ดวง ที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าตลอดเวลา ดาวเทียมเหล่านี้จะไม่อย่ในตำแหน่งคงที่ แต่โคจรไปรอบโลกตลอดเวลา ทุกขณะบนพื้นโลกจะมองเห็นดาวเทียมหลายๆดวง ดาวเทียมเหล่านี้จะเป็นตัวเชื่อมโยงสัญญาณสื่อสารบนพื้นโลกที่มีการแบ่งเป็นเซลไว้ให้ติดต่อสื่อสารถึงกันได้หมด

    

ใหม่ล่าสุด “Plug in and Label” ครั้งแรกในเครื่องพิมพ์ฉลาก (P-Touch) รุ่น QL-700 ผู้ช่วยอัจฉริยะของพนักงานออฟฟิศยุคไฮเทค

เทคโนโลยีการเรียน
ใบสั่งจราจรออนไลน์
เด็กๆ มีไอแพดใช่เเล้ว เทคโนโลยีก้าวหน้า

thaigoodview.com
spideredblog.wordpress.com/

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย
                หลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินเดีย เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ล้วนมีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของตน แล้ว สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเป็นผู้ร่าง มีการกำหนดกฎหมายที่จะร่างทั้งสิ้นหกฉบับ

1.กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เน้นในเรื่องข้อความที่จัดทำขึ้นเป็นรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะไม่ถูกปฏิเสธความมีผลทางกฎหมาย ถ้าข้อมูล ได้จัดทำขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถที่จะเข้าถึงเพื่อนำข้อความออกมาใช้ในภายหลังได้ ให้ถือว่า ข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว (มาตรา 6 และมาตรา 7) โดยมีการพิสูจน์หลักฐานที่เป็น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน (มาตรา 10) ข้อมูลเหล่านี้สามารถส่งและรับผ่านเครือข่ายเพื่อ รองรับวิทยาการสมัยใหม่ 2.กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เน้นในเรื่องการใช้ลายมือชื่อดิจิตอล (digital signature) เพื่อยืนยันเอกสารหรือหลักฐาน และองค์กรที่ทำ หน้าที่ออกใบรับรองลายมือชื่อ การประกอบการรับรองลายมือชื่ออนุญาต ตลอดจนการกำกับการประกอบการรับรอง เพื่อให้ระบบลายมือชื่อดิจิตอลเป็นส่วนหนึ่งเสมือนการลงลายมือชื่อในเอกสาร 3.กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมายที่เข้ามากำกับดูแลความสงบสุขของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นในเรื่องสิทธิการใช้ การ ละเมิดสิทธิ์ โดยเฉพาะผู้บุกรุกหรือ hacker ที่ถือว่าเป็นการกระทำ การบุกรุก และเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 4.กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากข้อมูลในรูปดิจิตอลสามารถเผยแพร่และกระจายได้รวดเร็ว การส่งต่อ การกระจายข่าวสารอาจกระทบ ถึงสิทธิส่วนบุคคล กฎหมายจึงคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 5.กฎหมายว่าด้วยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากกิจการทางด้านการเงินและการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบที่เป็นทั้ง eCash eMoney หรือ การใช้เครดิตแลกเปลี่ยนกันจะมีบทบาท มีการใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ใช้รูปแบบเอกสารการเงิน อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ 6.กฎหมายลำดับรองรัฐธรรมนูญมาตรา 78
ในมาตรา 78 แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยปัจจุบัน เน้นให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและ ตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ตลอดทั้ง โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั้งประเทศ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีส่วนช่วยในการสร้างประโยชน์ในเรื่องความสงบสุข และลดอาชญากรรมทาง ด้านเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในเรื่องการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่างรูปการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ e-mail






กฏหมายเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คืออะไร สามารถใช้แทนลายมือชื่อในสัญญาได้หรือไม่ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
            คำว่า ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติ นี้หมายถึง   “ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ” (มาตรา 4)

จากความหมายข้างต้นสามารถสรุปลักษณะของ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายฉบับนี้ ได้ดังนี้
1. เป็นอักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ มีความหมายต่างจากลายมือชื่อตามกฎหมายเดิมคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9
2. วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คือ เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น แม้ว่าจะมีการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ข้างต้นก็ตาม แต่ลายมือชื่อฯ ที่จะถือเป็นลายมือชื่อที่มีผลทางกฎหมาย จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ (มาตรา 9) คือ
(1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน
(2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี
                ลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้มีมาตราที่เกี่ยวข้องคือ มาตรา 25, มาตรา 26 และมาตรา 29 คู่กรณีที่เกี่ยวข้องยังสามารถใช้วิธีการใดๆ ที่เข้าลักษณะและเงื่อนไขของกฎหมายได้ แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้ แต่ก็ไม่ควรจำกัดการใช้เทคโนโลยีใดโดยเฉพาะตามหลักการเรื่อง ‘Technology Neutrality’ คือการไม่ถือเอาเทคโนโลยีหนึ่งเทคโนโลยีใด เป็นเกณฑ์พิจารณาความน่าเชื่อถือว่าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งบทบัญญัติ มาตรา 26 ก็หาได้ระบุจำกัดวิธีการหนึ่งวิธีการใดไว้ไม่

การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งเป็นกี่ประเภท
การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัตินี้ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องขึ้นทะเบียน
3. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาต
อนึ่ง แม้ว่า พ... ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลใช้บังคับแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีการออกพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้แต่อย่างใด จึงยังไม่มีการกำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดว่าเข้ากิจการประเภทใด (มาตรา 32) เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่าการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะเข้าประเภทใด กฎหมายฉบันนี้ให้พิจารณาจากความเหมาะสมในการป้องกันความเสียหายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจนั้น (มาตรา 32 วรรค 2) และยังบัญญัติเงื่อนไขการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวว่า ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และให้นำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ประกอบการพิจารณา (มาตรา 32 วรรคท้าย)

ผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority – CA) สำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่อย่างไรตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
ผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจการให้บริการออกใบรับรองสำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาข้างต้น (ข้อ 6.4) และมีหน้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้ใน มาตรา 28 ดังนี้
1.       หน้าที่ปฏิบัติตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติของผู้ให้บริการที่แสดงไว้ (เนื่องจากผู้ให้บริการออกใบรับรองฯ จะต้องมีการออกแนวนโยบายและแนวปฏิบัติว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น ‘Certification Practices Statement (CPS) หรือเอกสารใดๆ ทำนองเดียวกัน)
2.       หน้าที่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเกี่ยวกับความถูกต้องและความสมบูรณ์ของใบรับรอง อายุใบรับรอง เป็นต้น
3.       หน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบเนื้อหาหรือสาระสำคัญของใบรับรอง เกี่ยวกับการระบุผู้ให้บริการออกใบรับรอง, เจ้าของลายมือชื่อที่ระบุไว้ในใบรับรอง และข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ได้ในขณะหรือก่อนที่มีการออกใบรับรอง
4.       หน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจดูใบรับรองได้ เพื่อตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ, วัตถุประสงค์และคุณค่าที่มีการนำข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับรอง, ขอบเขตความรับผิดของผู้ให้บริการออกใบรับรอง, วิธีการให้เจ้าของลายมือชื่อส่งคำบอกกล่าวเมื่อมีเหตุตามบางประการ ตามมาตรา 27 (2), บริการเกี่ยวกับการเพิกถอนใบรับรอง เป็นต้น
5.       หน้าที่จัดให้มีบริการที่เจ้าของลายมือชื่อสามารถติดต่อกับผู้ให้บริการออกใบรับรองในกรณี ตามมาตรา 27 (2) และกรณีการขอเพิกถอนใบรับรองที่ทันการ
6.       หน้าที่ใช้ระบบ วิธีการและบุคลากรที่เชื่อถือได้ในการให้บริการ ฯลฯ

... ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.. 2544 มีบทบัญญัติที่ยอมรับผลทางกฎหมายเรื่องการยื่นคำขอ การขออนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายของประชาชน ที่ต้องการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือไม่
                แต่เดิมนั้นการยื่นคำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมาย ผู้ร้องขอจะต้องเดินทางมาติดต่อกับหน่วยงานของรัฐด้วยตนเอง หรือบางกรณีอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยมีเอกสารของผู้มอบอำนาจ พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้การรับรองให้หน่วยงานของรัฐสามารถรับคำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ของประชาชนทั่วไปหรือผู้ประกอบธุรกิจ โดยผู้ยื่นคำร้องหรือคำขอผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือยื่นคำขอในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผลที่สำคัญคือการกระทำข้างต้นนี้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับการกระทำในรูปแบบเดิม กฎหมายยังระบุให้การออกคำสั่งทางปกครอง การประกาศ หรือการดำเนินการใดๆ โดยหน่วยงานของรัฐ สามารถกระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ กระนั้นก็ดี พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา จึงจะถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย

ที่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งว่า ห้ามละเมิด








เมื่อเราได้ศึกษาเกี่ยวกับกฏหมายดังกล่าวเเล้ว  เราจึงควรเคารพในสิทธิของผู้อื่นไม่ควรล่วงเกินสิทธิของกันเเละกัน
สังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ต้องสร้างกฏหมายมาบังคับใครอีกต่อไป







วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ

แหล่งสารสนเทศ กับ การศึกษาตลอดชีวิต
 การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา และทุก ๆ ระดับสำหรับ ผู้ที่กำลังศึกษา รวมถึงนักวิจัยค้นคว้า นักวิชาการศึกษา สายงานบริหาร การจัดการ และบุคคล ทั่วไป  ศาสตร์ความรู้ทุก ๆ ด้านย่อมต้องอาศัยมาตรฐานทางวิชาการ เพื่อผลงานการศึกษาค้น คว้าที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับนับถือกันอย่างทั่วหน้า
   รศ.ดร.ฉลอง ทับศรี มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ ไว้ว่า มี ลักษณะความสามารถในการเข้าถึงผู้ใช้อย่างทันที ได้ทุกที่ ได้ทุกคน เทคโนโลยีสารสนเทศโดย ตัวมันเองมีสมรรถภาพสูง ประโยชน์หรือโทษที่เกิดขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน โรงเรียนและระบบ การศึกษาไทย น่าจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลในการใช้สื่อมหัศจรรย์นี้ การสร้างประโยชน์และ ป้องกันไม่ให้โทษขึ้นอยู่กับผู้เกี่ยวข้องหลาย ๆ ฝาย ที่จะต้องวางแผน จักการใช้ประโยชน์มันให้ได้

   ประโยชน์ของสารสนเทศมีมหาศาล แต่จะมีประโยชน์ หรือให้โทษ
ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานสื่อมหัศจรรย์นี้ ข้อดี คือ สมรรถภาพที่สูง รวดเร็วทันใจ ใช้งานไม่ยาก ไม่ กำหนดเวลา สถานที่ และบุคคลผู้ใช้งาน ด้วยข้อดีที่หลากหลายจึงมีผู้ที่นิยมใช้งานเป็นจำนวน มาก

   รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวถึงความ สำคัญของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในงานวิจัยเรื่อง  Information  Literacy  Skills  of University Students in Thailand คือ การส่งเสริมศักยภาพของนักศึกษาในการเรียนรู้ การ แสวงหาความรู้ เพื่อให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมโดย เฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการสืบค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ทักษะการเรียนรู้สารสนเทศ เป็นทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นทักษะพื้นฐานของการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ การ มีทักษะการรู้สารสนเทศ จึงเป็นเสมือนผู้มีปัญญา มีความสามารถในการค้นคว้า แก้ปัญหาเฉพาะ หน้าได้ จึงมีการกำหนดมาตรฐานการรู้สารสนเทศของผู้เรียนแต่ละระดับ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียน มีทักษะการรู้สารสนเทศตามมาตรฐาน โดยทักษะการรู้สารสนเทศ เป็นทักษะในการระบุความต้อง การ ค้นหา วิเคราะห์และใช้สารสนเทศ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานและการตัดสินใจ เป็น ทักษะสำคัญในการรู้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
   สารสนเทศเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ ได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐาน ในการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาทุก ๆ ระดับการศึกษา สามารถเข้าถึงได้จากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นแหล่งค้นคว้าส่วนตัว หรือส่วนรวม ห้องสมุดได้เปิดบริการให้ผู้สนใจใคร่รู้ทุกคนใช้งานได้ ที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยได้รวบรวมสารสนเทศชนิดและประเภทต่าง ๆ อย่าง มาก และหลากหลายวิธีการเข้าถึงสารสนเทศ ด้วยความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารทำให้แหล่งสารสนเทศต่าง ๆ นำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการบริหาร จัดการเพื่อการเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้โดยการ เชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก จึงกลายเป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุด มนุษย์ใช้งานมาก ที่สุดและให้ความสำคัญที่สุดในโลก ณ ปัจจุบันนี้



วัตถุประสงค์

        1.พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาผสมผสานในการจัดการเรียนการสอน (Hybrid Education) เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน  การเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต        2.ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรู้ ความเข้าใจ ซาบซึ้งในปรัชญาของวิชาศึกษาทั่วไปและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก้าวทันเทคโนโลยี มีความยืดหยุ่นสูง สามารถนำความรู้ในศาสตร์และสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนานิสิตให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรมและมีลักษณะอันพึงประสงค์       3.พัฒนาหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปให้มีคุณภาพ ทันสมัย และมีรายวิชาเลือกที่หลากหลาย เพื่อพัฒนานิสิตให้มีอัตลักษณ์ มศว และเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ       4.พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในลักษณะบูรณาการ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต      5. บริหารจัดการทรัพยากรบุคคล งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และอาคารสถานที่ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป และการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตอย่างเป็นระบบ โดยประสานและร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนานิสิตอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล      6.ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตำรา หนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ และสื่อสร้างสรรค์อื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน และเผยแพร่สู่ชุมชนผ่านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยไม่จำกัดกลุ่มผู้เรียน เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญา      7. จัดกิจกรรมบริการวิชาการ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมมือกันเพื่อให้เกิดพลังที่จะนำไปสู่การพัฒนาสังคมและประเทศอย่างยั่งยืนภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง      8. จัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมและธำรงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่ดีงามตามขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมไทย


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มีสาระสำคัญ ในเรื่อง “การศึกษาตลอดชีวิต”  และได้ให้ความหมายไว้ว่า “ การศึกษาตลอดชีวิต” คือ การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542 )
ทำไมจึงเน้นที่ “ การศึกษาตลอดชีวิต
สิ่งหนึ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ คือ การดำรงอยู่ของมนุษยชาตินั้น อยู่ได้ด้วยการศึกษา การเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การเรียนรู้เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตทุกอย่างทุกเรื่อง เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และตลอดชีวิต ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนมีการศึกษาที่เป็นแบบตลอดชีวิตอยู่แล้ว  แต่อาจเป็นเพราะว่าการแข่งขันในวงการศึกษาทั้งสถาบันการศึกษาภายในประเทศ และต่างประเทศ มีสูงขึ้น และยังเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ กับคุณภาพชีวิตของประชาชาติอีกด้วย  การที่รัฐบาลได้ทำให้ทุกคน ทุกองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบทางการศึกษาได้ตระหนักถึงการให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ โดยมีการจัดเตรียม มีการบริหารจัดการเพื่อการนี้อย่างเป็นรูปธรรม ย่อมจะมองเห็นเป้าหมายที่ชัดเจนว่าการที่ให้ประชาชนมี การศึกษาตลอดชีวิต คือยุทธวิธีที่จะสามารถสร้างคุณภาพแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าของไทย  เยาวชน ได้รับการศึกษาที่ดี มีระบบและขบวนการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม การศึกษาในระดับสูงสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้สอดคล้องกับการพัฒนาของชาติ และแช่งขันกับนานาชาติได้ ประชาชนทั่วไปสามารถแสวงหาความรู้เพื่อยังประโยชน์ในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความรู้ความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นพัฒนาสิ่งแปลกใหม่ ในอันที่จะแสดงถึงศักยภาพของแต่ละบุคคลโดยอิสระ จนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของคนทั่วไป และอาจส่งผลถึงหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล ที่มีคุณภาพ และเหนืออื่นใดคือ การศึกษาตลอดชีวิตนี้ จะเป็นการศึกษาที่ประชาชนได้นำความรู้ที่ได้จากการแสวงหาด้วยวิธีการต่าง  นี้ ไปพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ของคนๆ นั้น โดยพึ่งพิงคนอื่นน้อยที่สุด แต่เขาเหล่านั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศได้อย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดการศึกษาในความหมายของ “ การศึกษาตลอดชีวิต “ ได้อย่างมีคุณภาพ
แหล่งสารสนเทศกับการศึกษาตลอดชีวิต

 
แหล่งสารสนเทศทุกประเภท อันได้แก่ ห้องสมุด ศูนย์เอกสาร หรือแหล่งที่ให้บริการสารสนเทศที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น ย่อมถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องต่อการให้การศึกษาตลอดชีวิต ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะแหล่งสารสนเทศ คือแหล่งที่ให้บริการสรรพวิทยาการ ดังนั้นแหล่งสารสนเทศต่างๆ เหล่านี้จึงมีภารกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาโดยตรง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องสามารถให้บริการเพิ่อสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชนในชาติ เพื่อขานรับนโยบายของรัฐบาล 
ตามความหมายของการศึกษาตลอดชีวิต ที่กล่าวมาข้างต้น เราพอจะมองเห็น ความเป็นไปได้ อย่างมาก และคงจะหลีกเลียงไม่ได้ ที่จะต้องเป็นแหล่งแสวงหาความรู้ของประชาชน ทั้งการให้บริการเพื่อการศึกษาในระบบ นอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  
ดังนั้น เราจึงน่าจะต้องมาพิจารณาว่า ถ้าหาก แหล่งสารสนเทศทุกประเภท จะต้องมีหน้าที่ในการให้บริการที่กว้างขึ้น เพื่อตอบสนอง และสอดคล้องกับ การศึกษา ที่เป็นการบริการสรรพวิทยาการ เพื่อการศึกษาตลอดชีวิตแล้ว แหล่งสารสนเทศจะต้องมีความพร้อมอย่างไรบ้าง และจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการนี้ ซึ่งอาจจะต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

1. 
ความพร้อมของแหล่งสารสนเทศ  ว่ามีมากพอที่จะให้นักแสวงหาข้อมูลทั้งหลายได้เลือกใช้หรือไม่ เช่น ห้องสมุดที่มีคุณภาพที่ให้บริการในระดับประเทศ หรือในระดับท้องถิ่นมีเพียงพอหรือไม่ และแหล่งแต่ละแหล่งนั้น มีทรัพยากรที่จะให้บริการได้สมบูรณ์เพียงใด 
2. 
ความพร้อมที่เอื้อต่อการเข้าถึงสารสนเทศ  อันหมายถึง การอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ อาทิ การนำเอาคอมพิวเตอร์ เข้ามาจัดเก็บข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากทางไกลได้โดยง่าย  มีบริการอินเตอร์เน็ต บริการฐานข้อมูล CD-ROM  หรือการจัดกระทำใดๆ เพื่อการบริการที่สามารถเอื้อต่อการศึกษาตลอดชีวิต
3. 
ความพร้อมในด้านอื่นๆ อาทิ การที่แหล่งสารสนเทศมีนโยบายในการให้บริการเพื่อสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิตอย่างชัดเจน โดยอาจจะมีการประกาศ มีการประคุณภาพการปฏิบัติงานที่มุ่งไปสู่การศึกษาตลอดชีวิต หรืออื่นใดที่บ่งชี้ว่า เป็นการบริการเพื่อการพัฒนาคุณภาพของประชาชนโดยไม่มีขอบเขตในเรื่องใด  
ใน สาม ประเด็นที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นสิ่งที่จะต้องมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ต่อไป เพราะแต่ละประเด็นยังอาจจะเป็นคำถาม และการคาดเดาที่หาคำตอบให้กับความเป็นไปได้อย่างไม่เต็มที่ การสอดประสาน การขอความร่วมมือ จึงยังอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ มากกว่า การที่แหล่งทุกแหล่งจะสามารถเอื้อให้เกิดการศึกษาค้นคว้า อย่างไม่มีขอบเขต แก่ทุกคนได้ แหล่งทุกแหล่งยังมีข้อจำกัดในการให้บริการตามขอบเขต ของประเภท และมุ่งตอบสนองเพื่อผลิตคุณภาพของคนในองค์กรของตนเท่านั้น ยังไม่มีพลังที่จะเอื้อให้กับใครอื่นได้อีก และหากทำได้ก็ยังติดอยู่กับ กฎ ระเบียบ อีกมากมาย

ilc.swu.ac.th/?page_id=40