วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย
                หลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินเดีย เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ล้วนมีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของตน แล้ว สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเป็นผู้ร่าง มีการกำหนดกฎหมายที่จะร่างทั้งสิ้นหกฉบับ

1.กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เน้นในเรื่องข้อความที่จัดทำขึ้นเป็นรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะไม่ถูกปฏิเสธความมีผลทางกฎหมาย ถ้าข้อมูล ได้จัดทำขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถที่จะเข้าถึงเพื่อนำข้อความออกมาใช้ในภายหลังได้ ให้ถือว่า ข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว (มาตรา 6 และมาตรา 7) โดยมีการพิสูจน์หลักฐานที่เป็น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน (มาตรา 10) ข้อมูลเหล่านี้สามารถส่งและรับผ่านเครือข่ายเพื่อ รองรับวิทยาการสมัยใหม่ 2.กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เน้นในเรื่องการใช้ลายมือชื่อดิจิตอล (digital signature) เพื่อยืนยันเอกสารหรือหลักฐาน และองค์กรที่ทำ หน้าที่ออกใบรับรองลายมือชื่อ การประกอบการรับรองลายมือชื่ออนุญาต ตลอดจนการกำกับการประกอบการรับรอง เพื่อให้ระบบลายมือชื่อดิจิตอลเป็นส่วนหนึ่งเสมือนการลงลายมือชื่อในเอกสาร 3.กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมายที่เข้ามากำกับดูแลความสงบสุขของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นในเรื่องสิทธิการใช้ การ ละเมิดสิทธิ์ โดยเฉพาะผู้บุกรุกหรือ hacker ที่ถือว่าเป็นการกระทำ การบุกรุก และเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 4.กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากข้อมูลในรูปดิจิตอลสามารถเผยแพร่และกระจายได้รวดเร็ว การส่งต่อ การกระจายข่าวสารอาจกระทบ ถึงสิทธิส่วนบุคคล กฎหมายจึงคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 5.กฎหมายว่าด้วยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากกิจการทางด้านการเงินและการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบที่เป็นทั้ง eCash eMoney หรือ การใช้เครดิตแลกเปลี่ยนกันจะมีบทบาท มีการใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ใช้รูปแบบเอกสารการเงิน อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ 6.กฎหมายลำดับรองรัฐธรรมนูญมาตรา 78
ในมาตรา 78 แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยปัจจุบัน เน้นให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและ ตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ตลอดทั้ง โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั้งประเทศ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีส่วนช่วยในการสร้างประโยชน์ในเรื่องความสงบสุข และลดอาชญากรรมทาง ด้านเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในเรื่องการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่างรูปการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ e-mail






กฏหมายเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คืออะไร สามารถใช้แทนลายมือชื่อในสัญญาได้หรือไม่ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
            คำว่า ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติ นี้หมายถึง   “ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ” (มาตรา 4)

จากความหมายข้างต้นสามารถสรุปลักษณะของ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายฉบับนี้ ได้ดังนี้
1. เป็นอักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ มีความหมายต่างจากลายมือชื่อตามกฎหมายเดิมคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9
2. วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คือ เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น แม้ว่าจะมีการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ข้างต้นก็ตาม แต่ลายมือชื่อฯ ที่จะถือเป็นลายมือชื่อที่มีผลทางกฎหมาย จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ (มาตรา 9) คือ
(1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน
(2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี
                ลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้มีมาตราที่เกี่ยวข้องคือ มาตรา 25, มาตรา 26 และมาตรา 29 คู่กรณีที่เกี่ยวข้องยังสามารถใช้วิธีการใดๆ ที่เข้าลักษณะและเงื่อนไขของกฎหมายได้ แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้ แต่ก็ไม่ควรจำกัดการใช้เทคโนโลยีใดโดยเฉพาะตามหลักการเรื่อง ‘Technology Neutrality’ คือการไม่ถือเอาเทคโนโลยีหนึ่งเทคโนโลยีใด เป็นเกณฑ์พิจารณาความน่าเชื่อถือว่าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งบทบัญญัติ มาตรา 26 ก็หาได้ระบุจำกัดวิธีการหนึ่งวิธีการใดไว้ไม่

การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งเป็นกี่ประเภท
การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัตินี้ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องขึ้นทะเบียน
3. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาต
อนึ่ง แม้ว่า พ... ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลใช้บังคับแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีการออกพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้แต่อย่างใด จึงยังไม่มีการกำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดว่าเข้ากิจการประเภทใด (มาตรา 32) เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่าการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะเข้าประเภทใด กฎหมายฉบันนี้ให้พิจารณาจากความเหมาะสมในการป้องกันความเสียหายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจนั้น (มาตรา 32 วรรค 2) และยังบัญญัติเงื่อนไขการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวว่า ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และให้นำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ประกอบการพิจารณา (มาตรา 32 วรรคท้าย)

ผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority – CA) สำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่อย่างไรตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
ผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจการให้บริการออกใบรับรองสำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาข้างต้น (ข้อ 6.4) และมีหน้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้ใน มาตรา 28 ดังนี้
1.       หน้าที่ปฏิบัติตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติของผู้ให้บริการที่แสดงไว้ (เนื่องจากผู้ให้บริการออกใบรับรองฯ จะต้องมีการออกแนวนโยบายและแนวปฏิบัติว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น ‘Certification Practices Statement (CPS) หรือเอกสารใดๆ ทำนองเดียวกัน)
2.       หน้าที่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเกี่ยวกับความถูกต้องและความสมบูรณ์ของใบรับรอง อายุใบรับรอง เป็นต้น
3.       หน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบเนื้อหาหรือสาระสำคัญของใบรับรอง เกี่ยวกับการระบุผู้ให้บริการออกใบรับรอง, เจ้าของลายมือชื่อที่ระบุไว้ในใบรับรอง และข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ได้ในขณะหรือก่อนที่มีการออกใบรับรอง
4.       หน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจดูใบรับรองได้ เพื่อตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ, วัตถุประสงค์และคุณค่าที่มีการนำข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับรอง, ขอบเขตความรับผิดของผู้ให้บริการออกใบรับรอง, วิธีการให้เจ้าของลายมือชื่อส่งคำบอกกล่าวเมื่อมีเหตุตามบางประการ ตามมาตรา 27 (2), บริการเกี่ยวกับการเพิกถอนใบรับรอง เป็นต้น
5.       หน้าที่จัดให้มีบริการที่เจ้าของลายมือชื่อสามารถติดต่อกับผู้ให้บริการออกใบรับรองในกรณี ตามมาตรา 27 (2) และกรณีการขอเพิกถอนใบรับรองที่ทันการ
6.       หน้าที่ใช้ระบบ วิธีการและบุคลากรที่เชื่อถือได้ในการให้บริการ ฯลฯ

... ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.. 2544 มีบทบัญญัติที่ยอมรับผลทางกฎหมายเรื่องการยื่นคำขอ การขออนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายของประชาชน ที่ต้องการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือไม่
                แต่เดิมนั้นการยื่นคำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมาย ผู้ร้องขอจะต้องเดินทางมาติดต่อกับหน่วยงานของรัฐด้วยตนเอง หรือบางกรณีอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยมีเอกสารของผู้มอบอำนาจ พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้การรับรองให้หน่วยงานของรัฐสามารถรับคำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ของประชาชนทั่วไปหรือผู้ประกอบธุรกิจ โดยผู้ยื่นคำร้องหรือคำขอผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือยื่นคำขอในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผลที่สำคัญคือการกระทำข้างต้นนี้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับการกระทำในรูปแบบเดิม กฎหมายยังระบุให้การออกคำสั่งทางปกครอง การประกาศ หรือการดำเนินการใดๆ โดยหน่วยงานของรัฐ สามารถกระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ กระนั้นก็ดี พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา จึงจะถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย

ที่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งว่า ห้ามละเมิด








เมื่อเราได้ศึกษาเกี่ยวกับกฏหมายดังกล่าวเเล้ว  เราจึงควรเคารพในสิทธิของผู้อื่นไม่ควรล่วงเกินสิทธิของกันเเละกัน
สังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ต้องสร้างกฏหมายมาบังคับใครอีกต่อไป







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น